วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

               


การศึกษาในศตวรรษที่ 21
      บทนำ ศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑
     ศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑
              หนังสือ 21stCentury Skills : Learning for Life in Our Times ระบุลักษณะ ๘ ประการของเด็กสมัยใหม่ไว้ดังนี้
มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะ ของตน
ต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการ ของตน (customization & personalization)
ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง (scrutiny)
เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกันเป็นองค์กร เช่น ธุรกิจ รัฐบาล และสถาบันการศึกษา
ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคมการร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

                  นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าเด็กยุคใหม่เป็นคนยุคเจนเนอเรชัน(Generation Z) เป็นพวกที่ชอบใช้อินเทอร์เนต หรือที่เรียกกันว่าเป็นชาวเน็ต(netizen) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะนิสัยเพื่อประโยชน์ทางการตลาดครูเพื่อศิษย์อาจช่วยกันศึกษารวบรวมลักษณะของเด็กไทยยุคใหม่ เอาไว้ใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ ลักษณะอย่างหนึ่งของศิษย์ไทยคือ เกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่

                        หนังสือเล่มนี้ ยังได้ระบุหลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ
Authentic learning
การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียน
ยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ
Mental Model Building
การเรียนรู้ในระดับสร้างกระบวนทัศน์อาจมองอีกมุมหนึ่งว่า เป็น
authentic learning แนวหนึ่ง การอบรมบ่มนิสัย หรือ
การปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา แต่ในความหมาย
ข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นกระบวน
ทัศน์ (หรือความเชื่อ ค่านิยม) และที่สำคัญกว่านั้นคือ สั่งสมประสบการณ์
ใหม่
Internal Motivation
การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคน
ไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจ
ครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียน
Multiple Intelligence
เวลานี้เป็นที่เชื่อกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple
Intelligence) และเด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัว
มาแต่กำเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกันการเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว
(personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้
มากมาย ดังตัวอย่าง Universal Design for Learning ซึ่งก็คือ เครื่องมือ
สร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง
Social Learning
การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ ครูเพื่อศิษย์ก็
จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิด
นิสัยรักการเรียน

ความเข้าใจบทบาทของการศึกษา
            ในศตวรรษที่ ๒๑
     หนังสือ 21st Century Skills : Learning for Life in Our Times ระบุ
บทบาทของการศึกษา เปรียบเทียบยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และยุคปัจจุบันที่เรียกว่ายุคความรู้ ไว้ใน ๔ บทบาท อันได้แก่ 
(๑) เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม (๒) เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน (๓) เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ (๔) เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า

ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ ๒๑
     ครูเพื่อศิษย์ต้องไม่ใช่แค่มีใจ เอาใจใส่ศิษย์เท่านั้น ยังต้องมีทักษะในการ จุดไฟในใจศิษย์ ให้รักการเรียนรู้ ให้สนุกกับการเรียนรู้ หรือให้การเรียนรู้สนุกและกระตุ้นให้อยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต  การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้อง ก้าวข้ามสาระวิชาไปสู่การเรียนรู้ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)

ศาสตราใหม่สำหรับครูเพื่อศิษย์
           ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๐ หรือศตวรรษที่ ๑๙ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledgeworker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด


ทักษะของคนในศตวรรษที่ ๒๑ ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล
ไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
       ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง

พัฒนาสมองห้าด้าน
ครูเพื่อศิษย์เป็นคนที่โชคดีที่สุดในโลก เพราะเป็นคนที่มุ่งสร้างสรรค์ศิษย์สู่โลกยุคใหม่ มุ่งหวังให้ศิษย์มีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งจะทำได้ดี ครูเพื่อศิษย์เองต้องตั้งหน้าเรียนรู้ทักษะเหล่านั้น โดยมีความจริงว่า ไม่มีใครรู้จริง การพัฒนาสมองที่สำคัญ ซึ่งผมได้อ่านและสังเคราะห์มาฝากนั้นมาจากหนังสือ 21st Century Skills : Rethinking How Students Learn บทที่ 1 Five Minds for the Future เขียนโดย ศาสตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) คือ โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner)

       ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
     ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) นี้คือ ทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ทุกคนต้องเรียน
เพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน เป็นคนอ่อนแอ ชีวิตก็จะยากลำบากครูเพื่อศิษย์จึงต้องเอาใจใส่ พัฒนาขีดความสามารถของตนเองใน
ด้านนี้ ให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ตลอดชีวิต ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นหัวใจสำหรับทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) แต่ทักษะนี้ยังต้องมีทักษะอื่นมาประกอบและส่งเสริม อันได้แก่ทักษะอีก ๓ ด้าน คือ ด้านสารสนเทศ(information) ด้านสื่อ (media) และด้านดิจิตอล (digital literacy)

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(critical thinking)
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) เป็นทักษะสำคัญสำหรับการเป็นมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ ประเด็นสำคัญสำหรับครู
เพื่อศิษย์คือ ต้องแสวงหาวิธีการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์ (ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม) พัฒนาทักษะนี้ สอนไม่ได้ หรือสอนได้น้อยมาก นักเรียนต้องเรียนเอาเองโดยการฝึกฝน ครูจะเป็นโค้ชของการฝึกหัดนี้ โค้ชที่เก่งจะทำให้การเรียนรู้นี้สนุกตื่นเต้นเร้าใจ

ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      จะเห็นว่าทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information, Media, Technology Skill) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญมากในศตวรรษที่ ๒๑

ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต   
        ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตนั้นจะต้องเรียนตั้งแต่ชั้นประถม (หรืออนุบาล) ไปจนถึง ม. ๖ และมหาวิทยาลัย โดยเรียนตามพัฒนาการของสมอง ครูจะต้องเรียนรู้วิธีการออกแบบการเรียนรู้แบบ PBL ให้แก่ศิษย์แต่ละกลุ่มอายุและตามพัฒนาการของสมองเด็กแต่ละคน เพราะทักษะกลุ่มนี้สอนไม่ได้ เด็กต้องเรียนเอง และครูยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นในการคิดค้นหาวิธีออกแบบการเรียนรู้

 การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Productivity and Accountability)
      การเรียนรู้จากการทำโครงการ (PBL/ Project Base Learning ) เป็น วิธีเรียนทักษะเหล่านี้ โดยใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างมีผลิตภาพ (productivity) มีการเก็บข้อมูลเพื่อความโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อการรับรู้ผลงานที่ทำได้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทักษะที่ต้องการคือ ทักษะในการกำหนดเป้าและบรรลุเป้าหมายนั้นการจัดลำดับความสำคัญของงานและการใช้เวลา

ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)
ภาวะผู้นำที่ต้องการในศตวรรษที่ ๒๑ คือ ภาวะผู้นำและความรับ
       ผิดชอบแบบกระจายบทบาท (distributed leadership and responsibility)และความรับผิดชอบมี ๓ ระดับ คือ
            (๑)   รับผิดชอบต่อตนเอง (๒) รับผิดชอบการทำงานประสานสอดคล้องกันในทีม       (๓) ความร่วมมือกันในทีมเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน

 จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
  สมดุลระหว่างความง่ายกับความยาก
     ความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่ช่วยให้เราแก้ความเข้าใจผิดเก่า ๆ ที่ยึดถือกันมานาน เช่น ความรู้เรื่องการคิดของมนุษย์ เดิมเราเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อคิด นี่คือ ความเข้าใจผิด ที่จริงมนุษย์เกิดมาพร้อมกับ กลไกประหยัดการคิด คือถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ มนุษย์จะไม่คิด เพราะหากมัวคิดก่อนทำในหลายเรื่อง มนุษย์ก็จะไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์มาได้จนบัดนี้ คงจะสูญพันธุ์ไปตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะหนีสัตว์ร้ายหรือศัตรูไม่ทัน เนื่องจากมัวคิดอยู่ความจริงเกี่ยวกับการคิด ๓ ประการ ที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเดิม
ได้แก่
๑. การคิดทำได้ช้า
๒. การคิดนั้นยาก ต้องใช้ความพยายามมาก
๓. ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าจะถูกต้อง 
นี่คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ครูเพื่อศิษย์จะต้องเรียนรู้ไปตลอดชีวิตเรียนรู้โดยการรวมตัวกันในกลุ่มครูเพื่อศิษย์ในโรงเรียนเดียวกัน ลปรร.(แลกเปลี่ยนเรียนรู้) วิธีการและประสบการณ์ และเรียนรู้โดยการลปรร.กับเพื่อนครูที่อยู่ต่างโรงเรียน และที่อยู่ห่างไกลกันคนละภาคผ่านบันทึกในGotokno

   กำเนิดและอานิสงส์ของ PLC
    “บันเทิงชีวิตครู...เพราะเชื่อว่า ครูเพื่อศิษย์ทำหน้า
ที่ครูด้วยความบันเทิงใจ รักและสนุกกับการทำหน้าที่ครู ให้คุณค่ากับการ
ทำหน้าที่ครู แม้จะเหนื่อยและหนัก รวมทั้งหลายครั้งหนักใจแต่ก็ไม่ท้อถอย
เชื้อไฟที่ช่วยให้แรงบันดาลใจไม่มอดคือ คุณค่าของความเป็นครู

  ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนและทรงคุณค่า
      ในสายตาของผม PLC เป็นการรวมตัวกัน “เดินทางไกลแห่งชีวิต”ที่สมาชิกจะอุทิศชีวิตเพื่อการนี้ เพื่อการสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ของสังคมเพื่อการสร้างสรรค์การเรียนรู้แนวใหม่ที่บรรลุ ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตใน
ศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) ในตัวศิษย์ เพื่อการสร้างสรรค์“การศึกษา” แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่แตกต่างจากการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๐ และ ๑๙ โดยสิ้นเชิง และที่สำคัญยิ่งคือเพื่อชีวิตที่ดี ที่ประสบความสำเร็จของครูและผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ PLC ทุกคน เพราะ PLC คือ มรรคาแห่งการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดทักษะการเรียนรู้ (Learning
Skills) แห่งศตวรรษที่ ๒๑ และเป็น “บุคคลเรียนรู้” 
     สรุปว่า คำถามเชิงเป้าหมาย อุดมการณ์ หรือความมุ่งมั่น (purpose) คือ  โรงเรียนของเราดำรงอยู่เพื่ออะไร ทำไมต้องมี ไม่มีได้ไหม เมื่อมีอยู่ต้องทำอะไรให้แก่สังคม แก่ชุมชน อย่างไรเรียกว่า ทำหน้าที่ได้ดี น่าภาคภูมิใจ เราจะช่วยกันทำให้โรงเรียนของเราทำหน้าที่ได้ดีเช่นนั้น ได้อย่างไรอย่าตั้งคำถามว่า เราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร แต่ตั้งให้ลึกและถามเชิงคุณค่าว่า ยุบโรงเรียนของเราได้ไหม ทำไมจึงต้องมีโรงเรียนของเราคุณค่าของโรงเรียนของเรา อยู่ที่ไหน ประเมินได้อย่างไร และจะช่วยกันยกระดับคุณค่าที่แท้จริงได้อย่างไร






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น